วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การสืบค้นความรู้

กิจกรรมการสืบค้นความรู้

บรรจุภัณฑ์คืออะไร 
  •  - บรรจุภัณฑ์ หมายถึง สินค้าทุกชนิดที่ทำจากวัสดุใดๆ ที่ใช้นำมาห่อหุ้ม ป้องกัน ลำเลียง จัดส่ง เเละนำเสนอสินค้า ตั้งเเต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิต ตั้งเเต่ผู้ผลิตถึงใช้หรือผู้บริโภค

  • - "บรรจุภัณฑ์"ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์สำหรับการขาย (Sales packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่หนึ่ง ได้เเก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการขายของให้กับผู้บริโภค ณ จุดซื้อ บรรจุภัณฑ์กลุ่ม (Group packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สอง ได้เเก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ที่จุดซื้อกลุ่มสินค้าที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่ง ไม่ว่าสินค้านั้นจะถูกขายให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภคหรือไม่ก็ตาม เเละไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นี้จะถูกใช้เพื่อการดึงสินค้าจากชั้นวางของ ณ จุดขายก็ตาม บรรจุภัณฑ์นี้ก็สามารถถูกดึงออกจากสินค้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สาม ได้เเก่ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการลำเลียงเเละขนส่งสินค้า ที่ขายจำนวนมากหรือกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งไปรวมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทาง ถนน รางเลื่อน เรือหรือทางอากาศ

  • - การตีความหมายของคำว่า "บรรจุภัณฑ์"ให้ถือตามเกณฑ์ต่อไปนี้ จะถือว่าของสิ่งหนึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ ต่อเมื่อของสิ่งนั้นเป็นไปตามความหมายที่กล่าวข้างต้น โดยไม่พิจารณาคาบเกี่ยวกับหน้าที่อื่นที่บรจุภัณฑ์อาจทำได้ เว้นเเต่สิ่งสิ่งนั้นจะถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า เเละมีความจำเป็นเพื่อห่อหุ้ม พยุง หรือถนอมรักษาสินค้าตลอดอายุของสินค้า เเละมีวัตถุประสงค์ให้ใช้ บริโภค หรือทิ้ง องค์ประกอบทุกชิ้นพร้อมกับสินค้าตัวอย่าง
  • - สิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้เเก่ : กระถางดอกไม้ที่มุ่งหวังให้อยู่คู่กับต้นไม้ตลอดอายุของต้นไม้กล่องใส่เครื่องมือช่าง ถุงชา ชั้นเเว็กซ์ห่อหุ้มเนยเเข็ง ผิวหุ้มไส้กรอก เป็นต้น ให้ถือว่า สิ่งที่ถูกออกเเบบเเละทีวัตถุประสงค์ให้เติมเต็ม ณ จุดขาย เเละขายสิ่งที่ทิ้งได้ ที่ถูกเติมเต็มหรือออกเเบบเเละมีวัตถุประสงค์ให้เติมเต็ม ณ จุดขาย เป็นบรรจุภัณฑ์ หากสิ่งสิ่งนัน ทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์

  • - ตัวอย่างสิ่งที่ไม่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้เเก่ : ที่คน มีดเเบบใช้เเล้วทิ้ง เป็นต้น ให้ถือ ส่วนประกอบของบรรจุภัฑณ์ หรือส่วนช่วยที่รวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์ เป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ที่รวมองค์ประกอบเหล่านั้น ให้ถือว่า ส่วนช่วยที่เเขวนโดยตรงกับหรือติดกับสินค้าที่ทำหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ เป็นบรรจุภัณฑ์ เว้นเเต่ของเหล่านั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า เเละมีวัตถุประสงค์ให้บริโภค เเละทิ้งองค์ประกอบทุกชิ้นพร้อมกับสินค้า
            ตัวอย่าง
  • - สิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์ ได้เเก่ : เเผ่นป้าย Label ที่เเขวนโดยตรงหรือติดบนตัวสินค้า        เป็นต้น ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป๋นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้เเก่ : เเปรงมาสคาร่า ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝาปิดตลับมาสคาร่า Label ที่ติดกับบรรจุภัณฑ์ชิ้นอื่น ลวดเย็บกระดาษ ซองพลาสติก                  

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมการเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 2 - 24 มิถุนายน 2556

 การบ้านประจำสัปดาห์ที่2

-ออกเเบบโลโก้กลุ่มของเเต่หละกลุ่มในการทำงาน ของวิชาออกเเบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

-เเปลสรุปข่าวเกี่ยวกับการออกเเบบผลิตภัณฑ์มา 3 เรื่อง 
การตั้งค่าในการเกี่ยวกับเอกสารเเปลสรุปข่าว  ดังนี้  บน 1.5 นิ้ว (3.8 ซม.) ล่าง 1 นิ้ว (2.5 ซม.) ซ้าย 1.5 นิ้ว (3.8 ซม.) ขาว 1 นิ้ว (2.5 ซม.) จากนั้นตั้งชื่องานเป็น Paowarat-artd3320-ชื่องานที่https://drive.google.com/?tab=wo&authuser=0#folders/0BwdpUNs1N1FgYlBSQmMzTW1PcGM

-ทำนามบัตร
ทำนามบัตรของตัวเองขนาด 5x9 เซนติเมตร เเละมีสัญลักษณ์ที่ถูกต้องของ ม.ราชภัฎจันทรเกษม ใช้ Font ตระกูล CRU ด้วยโปรเเกรม AI  เเละส่งงานที่ https://drive.google.com/?tab=wo&authuser=0#my-drive




วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เว็บบล็อกสรุปผลการเรียนรู้ในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ของ นาย เปาวรัตน์ น้อยหา

ปฐมนิเทศวิชาออกเเบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สัปดาห์เเรกของวิชาเรียน


กิจกรรมปฐมนิเทศวิชาออกเเบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์สัปดาห์เเรกของการเรียน



        สัปดาห์เเรกของการเรียนการสอนในรายวิชาการออกเเบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ภาคเรียนที่ 1/2556 คราวนี้มี 2 กลุ่ม เปิดจำนวนเต็มไว้เเค่30คนต่อกลุ่ม กลุ่ม 101 ยังไม่เต็ม(วันที่ 10-6-2556) ผู้ที่จะลงทะเบียนเพิ่มโดยเฉพาะผู้ที่ติด F หรือ Drop ไว้ให้ไปลงเพิ่มในกลุ่ม 101 สำหรับนักศึกษาตกค้างรุ่นให้ไปลงทะเบียนกับกลุ่มภาคนอกเวลาเหลืออีก 1 กลุุ่มอย่างไปเเย่งที่น้องๆ ตามตารางเเจ้งไว้เป็นวันจันทร์-อังคาร เวลา 8.30-12.20 น. เรียนที่ห้องคอมพิวเตอร์ 323-324 ของคณะมนุษย์ฯ ภาคนอกเวลา เรียนห้องเดิม วันพฤหัสบดี เวลา 17.30-20.50 (อาจมีการเปลี่ยนเเปลง) สัปดาห์เเรกมีกิจกรรมจามเกณฑ์มาตรฐานเดิม เเต่จะเข้มขึ้นอีก เริ่มด้วย

  1. ให้นศ.เข้าอ่านเมนูคำอธิบายรายวิชา เเละมาตราการเรียนรู้ เล่มเอกสาร มคอ.3 ศึกษาคำอธิบายรายวิชา  ศึกษาวัตถุประสงค์ หัวข้อเนื้อหาที่จะต้องเรียนรู้ วิธีการเรียน การร่วมกิจกรรม เเละดูตารางเวลาเรียน เวลาทำงานของผู้สอน จะได้เข้าใจว่า เรียนวิชานี้เเล้วจะได้ความรู้อะไร จะติดต่อผู้สอนเเละจ้องให้ความร่วมมือในการเข้าเรียนเเละทำกิจกรรมเยี่ยงใดบ้าง
  2. ให้เข้าทำเเบบสำรวจ: Survey เเละกรอกข้อมูลที่เป็นจริงให้เรียบร้อยทุกรายการ ให้ชั้นเรียนสัปดาห์เเรก ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนเพิ่มภายหลัง ให้ทำให้เเล้วเสร็จก่อนการเรียนในสัปดาห์ที่สอง
  3. ให้ตรวจสอบ เเก้ไข หรือเพิ่มรายชื่อ เเละกรอกข้อมูลอีเมลส่วนตัว(@gmail.com)เท่านั้น เเจ้งเบอร์โทรศัพท์ เเละสร้างเว็บบล็อกส่วนตัวตามเงื่อนไขที่เเจ้งไว้ โดยเเจ้ง-ทำลงในเเบบบันทึกเเละประเมินผลการเรียน(ไฟล์Google Spredsheet) ที่สร้างให้คลิกเข้าทำ ไว้ให้เเล้ว กรอกข้อมูลให้ตรงกับกลุ่มที่เรียนเเละรายชื่อที่ลงทะเบียน กรอกลงช่องล่างต่อเพิ่มสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนภายหลัง ทำให้เเล้วเสร็จภายใจ 1 สัปดาห์เเละเริ่มบันทึกบล็อกนับเเต่สัปดาห์เเรก      
          ภาคปกติกลุ่ม101 เรียนวันจันทร์  คลิกเข้าทำที่นี่ 
          ภาคปกติกลุ่ม102 เรียนวันอังคาร คลิกเข้าทำที่นี่
     4.  การสมัครเป็นผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง ที่ www.clarolinethai.info      
                

                 ปล. ในสัปดาห์ที่สอง จะมีการสอบวัดความรู้-ปฎิบัติก่อนเรียน ห้ามพลาด ห้ามขาด หัามลา
               ในการปรับพื้นฐานทักษะการบริหารจัดการความรู้ (Basic Information Management Skill) การ                           สื่อสารส่วนบุคคลเเละการสร้างเครื่อข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นระบบเดียวกัน (Personal Communication Chanel and Social Natwork System Skill) โดยกำหนดเป็นข้อตกลงให้ทุกคนต้องฝึกฝนทักษะปฎิบัติการ การรับรู้เเละรับส่งข่าวสารด้วยการใช้งานเครื่องมือฟรีจากระบบออนไลน์(Cloud Management Tool)ที่ได้มาตราฐานสากลคือจากระบบบริการของ Google เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกมิติ การให้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม(Workgroup) โดยให้เเบ่งกลุ่มทำงานร่วมกัน หรือทำงานเดี่ยวอย่างเป็นระบบต่อไป